top of page

If Clause (ประโยคเงื่อนไข)

หลักการใช้

ประโยคเงื่อนไขเป็นโครงสร้างที่เราก็พูดกันประจำนะในภาษาไทย เช่น เพื่อนสาวร้องห่มร้องไห้มาเล่าให้ฟังว่าทะเลาะกับแฟนอีกแล้ว   แล้วเราก็ได้แต่บอกเพื่อนไปว่า "นี่แกร ถ้าฉันเป็นเธอนะ ฉันจะเลิกกับมันเลย" (ซึ่งอีกไม่นานเค้าก็กลับมาดีกันแล้วเราก็หมา 555) 

หรือบางทีเรามีนัดดูหนังกับเพื่อนช่ะ แต่งานยังไม่เสร็จเลย เราก็บอกให้เพื่อนไปก่อนได้เลย "ถ้าฉันทำงานนี้เสร็จเร็ว ฉันจะตามไป" เราจะเห็นว่านี่คือเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดเนาะ

หรือเคยมั้ยที่แบบฝันว่าอยากรวย อยากถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 แล้วจะลาออกจากงาน (ต้องเคยคิดมั่งแหละ 55) "ถ้าฉันรวย ฉันจะสวยให้ดู" (ตอนนี้ยังไม่รวย และยังไม่สวย) เหตุการณ์แบบนี้คือเหตุการณ์มโน

หรืออีกซักอันละกัน เคยมั้ยคะที่เราทำอะไรลงไปแล้วรู้สึกผิดหรือเสียใจทีหลังแต่เราทำอะไรไม่ได้แล้วไง ได้แต่เวิ่นเว้อร่ำไรรำพรรณ เช่น "ถ้าฉันไม่งี่เง่ากับเค้า เค้าคงไม่เทฉันหรอก" (แต่จริงๆแล้วเรางี่เง่าและเขาเท) เหตุการณ์แบบนี้คือเหตุการณ์ที่จบไปแล้ว แก้ไขไม่ได้แล้ว

ทุกเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างมาให้ดูเราพูดทั้งนั้นในภาษาไทยแต่เราไม่เห็นความแตกต่างเพราะกริยาบ้านเราไม่มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต แค่นั้น 

ทีนี้ if clause มี 4 เหตุการณ์คือ

  1. Zero Conditional - คือเหตุการณ์ที่เป็นจริง 100% ตัวนี้ง่าย เพราะว่ามันคือเหตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์

  2. First Conditional - คือเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิด If + present simple, future simple

  3. Second Conditional - คือเหตุการณ์มโนหรือเป็นจริงได้น้อยมากๆ If + past simple, S+would+V1

  4. Third Conditional - คือเหตุการณ์ที่จบไปแล้ว เวิ่นเว้อ If + past perfect, S + would + have + V3

ดูตารางและตัวอย่างด้านล่างค่ะ

if clause

If Clause - Mixed Conditional

Second หรือ Third Conditional?

เปรียบเทียบสองประโยคนี้:

  • If I went to the party, I would be tired tomorrow. - ถ้าฉันไปงานปาร์ตี้ พรุ่งนี้ฉันจะง่วง

  • If I had gone to the party, I would have been tired. – ถ้าฉันไปงานปาร์ตี้มา ฉันคงจะง่วง

ในประโยคแรก เราใช้ 2nd conditional เพราะว่างานปาร์ตี้มันอยู่ในอนาคตและเราจินตนาการถึงสถานการณ์นั้นไว้ ในประโยคที่สองงานปาร์ตี้นี้อยู่ในอดีตเราไปได้ไปและเราคิดถึงสถานการณ์ว่าถ้าเราไปคงจะเป็นอย่างไร

Mixed Conditionals

เปรียบเทียบสองประโยคนี้:

  • If I had gone to the party on Friday night, I would have met Harry. – ถ้าฉันได้ไปงานปาร์ตี้คืนวันศุกร์ ฉันก็คงจะได้พบกับแฮรี่ (ความจริงไม่ได้ไปและไม่ได้พบ)

  •  If I had gone to the party on Friday night, I would be tired now. - ถ้าฉันได้ไปงานปาร์ตี้คืนวันศุกร์ ฉันคงจะง่วงมากตอนนี้

- ในประโยคแรก เราใช้  3rd conditional (เหตุการณ์ที่เป็นไปได้ในอดีต กับ ผลลัพธ์ของเหตุการณ์ในอดีต)

- อย่างไรก็ตามในประโยคที่สอง  เราผสม 3rd และ 2nd conditional เพื่ออธิบายถึง เหตุการณ์ที่เป็นไปได้ในอดีต (3rd conditional) กับ ผลลัพธ์ของปัจจุบัน (2nd conditional)

ดูตัวอย่างอื่นๆของความเป็นไปได้:

  •  If I had gone to university, my mother would have been happy. – ถ้าฉันได้เรียนต่อมหาลัย แม่ฉันคงจะมีความสุขมากๆ

  •  If I had gone to university, I would be a lawyer now. - ถ้าฉันได้เรียนต่อมหาลัย ตอนนี้ฉันคงจะได้เป็นทนาย (แต่ความจริงไม่ได้เป็นเพราะไม่ได้เรียน)


  •  If we had gone to that new restaurant, we wouldn't have got a table as it was so busy. - ถ้าเราได้ไปร้านอาหารร้านนั้น เราคงจะยังไม่ได้โต๊ะหรอก เพราะว่าคนเยอะมาก

  • If we had gone to that new restaurant, we wouldn't be hungry now.- ถ้าเราได้ไปร้านอาหารร้านนั้น เราคงจะไม่หิวอย่างนี้

การใช้คำอื่นนอกเหนือจากคำว่า "Would"

  • If it hadn't rained, we would have gone for a walk.

    • ถ้าเราใช้ would ในประโยคนี้แปลว่า No rain = walk เราไปเดินแน่นอนถ้าไม่มีฝน

  • If it hadn't rained, we could have gone for a walk.

    • ตัวอย่างนี้ต่างกันนิดนึง ถ้าเราใช้คำว่า could แทน would ความหมายคือมีความเป็นไปได้ที่จะไปเดินถ้าไม่มีฝน No rain = possible walk.

  • If it hadn't rained, we might/may have gone for a walk.

    • No rain = maybe walk

Wish Clause

Wish ใช้ได้ในสองสถานการณ์หลักๆ คือ แสดงความปรารถนา และ การอวยพร แต่ในที่นี้เราจะมาอธิบายการใช้wish เพื่อแสดงความปรารถนาของผู้พูด โดยความปรารถนาที่จะพูดถึงนี้ก็มีหลายรูปแบบด้วยกันดังนี้ค่ะ

1. Wish+ to + V(infinitive) : ใช้พูดแสดงความต้องการ มีความหมายเหมือนกับ want หรือ would like to แต่มีความสุภาพมากกว่า เช่น

  •  Do you wish to move the seat?

  • I wish to see your boss.

2. Wish + past simple :   ใช้แสดงความปรารถนาที่ตรงข้ามกับความจริงในปัจจุบัน ซึ่งเราอยากให้เป็นอย่างที่เราฝัน แต่มันเป็นไปได้ยากเหลือเกิน เช่น เราเห็นเพื่อนได้ไปทำงานในอเมริกา แล้วเราก็อยากไปบ้าง แต่มีโอกาสน้อยมากๆที่เราจะได้ไป เราก็บอกว่า

  • I wish I could work in America.

3. Wish + past continuous : ใช้แสดงความปรารถนาว่าตอนนี้เรากำลังทำสิ่งนั้นอยู่ แต่เราไม่ได้กำลังทำอยู่ เช่น วันนี้ติดประชุมเลยไม่ได้ไปกินข้าวเย็นกับเพื่อน คุณเลยบอกเพื่อนว่า

  • I wish I was having dinner with you at The Moroccan restaurant.

  • ฉันได้แต่หวังว่าจะได้ไปกินข้าวที่ร้านThe Moroccan กับคุณตอนนี้ (ตอนนี้ไปไม่ได้ ติดประชุมอยู่)

  • I wish we were enjoying the trip in Japan.

  • ฉันได้แต่หวังว่าพวกเราจะกำลังสนุกกับทริปในญี่ปุ่น (แต่ตอนนี้ทำแบบนั้นไม่ได้เพราะอาจจะกำลังติดงานหรือติดธุระอยู่ เลยไม่ได้ไป)

4. Wish + past perfect : ใช้แสดงความปรารถนาที่เป็นไปไม่ได้ในอดีต คือหวังว่าเราน่าจะได้ทำอย่างนั้นแต่ไม่ได้ทำ กลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เช่น

  • I wish we hadn’t known each other.

  • ฉันอยากให้เราไม่ต้องมารู้จักกันเลยจะดีกว่า (ตอนนี้ได้รู้จักไปแล้ว และเขาก็ได้ทำไม่ดีกับเรา)

  • I wish I had told him about Jenny.

  • ฉันน่าจะบอกเขาไปเรื่องเจนนี่ (แต่ไม่ได้บอก)

  • Sometimes I wish I had never been born.

  • บางทีฉันก็คิดนะว่าฉันไม่น่าเกิดมาเลย (ตอนนี้เกิดมาแล้ว)

5. Wish + would / could : ใช้แสดงความไม่พอใจกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน คาดหวังให้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น

  •  I wish he could speak louder.

  • ฉันอยากจะให้เขาพูดดังกว่านีหน่อย (ตอนนี้พูดเบาไป ไม่ได้ยิน)

  • I wish you would stop smoking.

  • ฉันหวังให้คุณเลิกสูบบุหรี่ซะที

Wishes & Regrets

wishe and regret mind map
bottom of page