top of page

Pronouns

สรรพนามคือคำที่ใช้เรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคำนามซ้ำ

สรรพนามมีอยู่ 9 ชนิดประกอบไปด้วย

  1. Personal Pronoun (สรรพนามแทนบุคคล) ใช้แทนคำนามที่เป็น คน สัตว์ สิ่งของ ทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธานและกรรม

  2. Possessive Pronoun (สรรพนามเจ้าของ) ที่ใช้แทนคำนามเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ mine, yours, ours, theirs, his, hers, its ทำหน้าที่:

    1. เป็นประธานของประโยค แต่ต้องมีการกล่าวถึงคำนั้นมาก่อนแล้ว

      • Annie put her books in the corner, and I put mine on the table. แอนนี่วางหนังสือของเธอไว้ที่มุมนั้น ส่วนฉันก็วางของฉันไว้บนโต๊ะ (mine คือ possessive pronoun ของคำว่า books)

      • Tom’s car gets 20 miles to the gallon, while mine gets 32. รถของทอมวิ่งได้ 20 ไมล์ต่อน้ำมันในแกลลอน ในขณะที่ของฉันวิ่งได้ 32 ไมล์ (mine คือ possessive pronoun ของคำว่า car)

    2. เป็นส่วนเติมเต็มของประโยค มักวางหลัง Verb to be เช่น

      • I love your sofa. Mine isn’t as comfortable as yours. ฉันรักโซฟาของเธอมากเลย ของฉันนั่งไม่สบายแบบของเธอ

      • Is this Tom’s bicycle? – No, that red one over there is hers.นี่คือจักรยานของทอมใช่ไหม – ไม่ใช่ คันสีแดงที่อยู่ตรงนั้นเป็นของเขา

    3. เน้นการแสดงความเป็นเจ้าของ โดยวางหลัง of เช่น

      • I’m a friend of his. ฉันเป็นเพื่อนของเขา

      • You’re a student of mine. เขาเป็นนักเรียนของฉัน

  3. Possessive Adjective (คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ) คือ adjective ที่แสดงความเป็นเจ้าของ วางไว้หน้าคำนาม เช่น A cat is feeding its kitten.

  4. Reflexive Pronoun (สรรพนามเน้นตัวเอง) ใช้เน้นย้ำถึงคำนามที่เคยกล่าวถึง มักลงท้ายด้วย ‘-self’ à myself, yourself, yourselves, ourselves, themselves, himself, herself, itself

  • หลักการใช้ Reflexive Pronoun

    1. วางหลังประธานหรือหลังประโยค เพื่อเน้นว่าประธานเป็นผู้ทำเอง เช่น

      • She herself baked this cake yesterday. เธอเป็นคนทำเค้กเองเลยนะ

      • I myself will do the work. ฉันจะทำงานนี้ด้วยตัวเอง

    2. วางหลังกริยา เพื่อเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำเอง เช่น

      • Jane saw herself in the mirror. เจนเห็นตัวเองในกระจก

      • He hurts himself. เขาทำร้ายตัวเอง

    3. วางหลังบุพบท (Preposition) เพื่อเป็นกรรมของบุพบท เช่น

      • My mother wants some water for herself. แม่ของฉันต้องการน้ำให้ตัวเองสักหน่อย

      • I always think of myself first. ฉันมักจะคิดถึงตัวเองก่อนเสมอ

    4. วางหลัง by เพื่อเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำเพียงลำพัง เช่น

      • I will do it by myself. ฉันจะทำงานนี้ด้วยตัวเอง

      • She went to school by herself. เธอไปโรงเรียนด้วยตัวเอง

สรรพนาม

5. Definite Pronoun (สรรพนามชี้เฉพาะ) ใช้แทนคำนามเพื่อเจาะจงว่าคนไหน สิ่งไหน อันไหน ได้แก่ this, that, these, those, one, ones

หลักการใช้ Definite Pronoun

**Definite Pronoun ทุกตัวสามารถเป็นได้ทั้งประธานและกรรมของประโยค**


  • This (นี้) แทนคำนามเอกพจน์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น

    • This is our home. นี่เป็นบ้านของพวกเรา

    • Let’s talk about this.  มาคุยเรื่องนี้กัน

  • These (เหล่านี้) แทนคำนามพหูพจน์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น

    • These are for you. ของพวกนี้เป็นของคุณ

    • Where do I put these? ฉันวางของพวกนี้ไว้ตรงไหนดี

  • That (นั้น) แทนคำนามเอกพจน์ที่อยู่ไกลตัว เช่น

    • That is good. อันนั้นดีนะ

    • Why would he do that? เขาทำอย่างนั้นทำไม

  • Those (เหล่านั้น) แทนคำนามพหูพจน์ที่อยู่ไกลตัว เช่น

    • Those are my pets. พวกนั้นคือสัตว์เลี้ยงของฉัน

    • I want those in my kitchen. ฉันอยากได้ของพวกนั้นไว้ในห้องครัว

  • One (อันหนึ่ง) แทนคำนามเอกพจน์ที่กล่าวถึงเป็นครั้งที่ 2  เช่น

    • There are two books on the desk. Which one is mine? มีหนังสือสองเล่มวางอยู่บนโต๊ะ อันไหนเป็นของฉัน

    • We can’t go to Chiang Mai without a car. We should rent one. เราไม่สามารถไปเชียงใหม่โดยที่ไม่มีรถได้ เราต้องเช่าคันนึงแล้วล่ะ

  • Ones (กลุ่มหนึ่ง) แทนคำนามพหูพจน์ที่กล่าวถึงเป็นครั้งที่ 2  เช่น

    • You could see which restaurants were rated the highest on Wongnai, which ones certain reviewers liked, and so on. คุณสามารถดูได้ว่าร้านอาหารร้านไหนได้คะแนนสูงสุดในวงใน ร้านไหนคนรีวิวชอบ หรือดูข้อมูลอย่างอื่นก็ได้

    • She said life was about choices, the ones we make well, the ones we don't. เธอบอกว่าชีวิตคือการมีตัวเลือก มีทั้งที่เราเลือกตัวเลือกได้ดี และเลือกได้ไม่ดี

6. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ) Pronoun ที่ใช้แทนคำนามทั่วไป ไม่เจาะจงว่าคนไหน อันไหน สิ่งไหน 
หลักการใช้ Indefinite Pronoun
1. เป็นประธานของประโยค เช่น
"Anything you want to talk about?" she asked. อยากคุยเรื่องอะไรไหม เธอถาม
Assured that no one was there, she went to her room. เมื่อแน่ใจแล้วว่าไม่มีใครอยู่ข้างใน เธอเลยเข้าไปในห้อง
2. เป็นกรรมของกริยา เช่น
Until now she had been thinking of no one but herself. ตั้งแต่นี้ไป เธอจะไม่คิดถึงคนอื่นนอกจากตัวเองแล้ว
I need someone to take care of my mom. ฉันต้องการใครสักคนมาดูแลแม่ของฉัน

indefinite pronouns

7. Interrogative Pronoun (สรรพนามคำถาม) Pronoun ที่ใช้แทนคำนามในประโยคคำถาม  ได้แก่ who (ใคร), whom (ใคร), whose (ของใคร), what (อะไร), which (อันไหน)

8.  Relative Pronoun คือ ประพันธสรรพนาม หรือ คำสรรพนามที่เอาไว้ใช้ขยายประโยคให้ประธานหรือกรรมในประโยคยาวขึ้น และมีรายละเอียดมากขึ้น โดยที่เราจะใช้ประพันธสรรพนามนำหน้าส่วนขยายที่เราเรียกว่า relative clause และอีกกรณีก็คือ ใช้เชื่อมต่อกับประโยคที่สมบูรณ์แล้ว บางคนก็เรียก relative clause ว่า adjective clauses ลองดูตัวอย่างกันนะคะ

  • The teacher whom my family loves is teaching here. 

  • I love the food which is not too spicy at this restaurant.

  • The house that was put on sale is now under renovation.

ประเภทของ Relative Pronoun

1. who ใช้เมื่อพูดถึงคน เราจะใช้คำว่า who ตามหลังคำนามด้านหน้าที่เกี่ยวกับคน และคำว่า who จะต้องทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาที่ตามมาด้านหลัง เช่น

  • Rihanna is a singer who owns a cosmetics brand. คำว่า a singer คือนักร้อง และคำว่า who เป็นประธานของกริยา owns

  • Bucky and Sam are friends who are inseparable. คำว่า friends คือเพื่อน และคำว่า who เป็นประธานของกริยา are

2. whom ใช้เมื่อพูดถึงคน แต่เป็นกรรมของคำกริยาที่ตามหลัง หมายความว่าเราจะใช้คำ who และ whom สลับกันไม่ได้ ลองดูในประโยคตัวอย่างนะคะ

  • Dr. Strange is a committee whom the board likes. คำว่า a committee หรือกรรมการ เป็นกรรมของกริยา like

  • Tony is a business owner whom we are in contact with. คำว่า a business owner หรือเจ้าของธุรกิจ เป็นกรรมของกริยาและคำบุพบท are in contact with

3. which ใช้เพื่อขยายสิ่งของหรือสัตว์ ซึ่งจะมีความหมายเหมือนกับคำ that แต่เป็นทางการมากกว่า เหมาะสำหรับการเขียนเรียงความ ลองดูในประโยคตัวอย่างนะคะ

  • This type of plant, which is found in Thailand, is rare.

  • My dad gave me a bike which was made of titanium.

4. where ใช้เพื่อบอกสถานที่

  • That is the town where I grew up.

  • The blank on the form where I signed was too small.

5. that ใช้เมื่อพูดถึงคน สัตว์ และสิ่งของ

  • The chocolate cookies that I like were sold out.

  • A denim jacket that has flowers on it is mine.

ประเภทของ Relative Clause

ส่วนขยายในประโยคที่เราใช้ Relative Pronoun จะเรียกว่า Relative Clause

1. Defining relative clause

Defining relative clause ใช้ในกรณีที่เรากำลังพูดถึงบางสิ่ง บางอย่างหรือบุคคลที่มีความสำคัญต่อความของประโยค เพื่อการขยายความ ทั้งนี้เราจะไม่ใช้เครื่องหมาย comma ด้านหน้าคำ relative pronun ได้ เพราะว่าเราไม่สามารถตัดส่วนขยาย relative clause ออกไปจากจากประโยคได้

  • Koh Samui is an island where tourists like to visit.

  • The purified water that we have at home is clean enough.

  • There is a new song that I like from this band.

2. Non-defining relative clause

Non-defining relative clause จะใช้เมื่อเราต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบางสิ่ง แต่ข้อมูลในส่วนนี้ไม่ได้มีความสำคัญกับสิ่งที่เรากำลังพูดถึง ดังนั้น เราจะใช้เครื่องหมาย comma หน้าคำ Relative Pronoun ของเราค่ะ

  • The Olympics gold medals, which are not made from real gold, are valuable.

  • History, which is taught by Mr. Steve Roger, is my favorite subject.

  • The picture frame shows a building, which she visited twice.

นอกจากคำ Relative Pronoun ที่เราได้ดูไปตอนต้นแล้ว เรายังมี Compound relative pronouns ที่มีคำว่า whoever, whomever, whichever, and whatever ซึ่งใช้ในความหมายที่ว่าใครก็ตาม สิ่งใดก็ตาม และอะไรก็ตาม

  • Whichever career path you choose, I am happy.

  • Say hi to whomever you meet at the party for me.

  • Take whatever is on the table. They are free.

*** ข้อสังเกตเกี่ยวกับ Relative Pronoun ***

Question: เราจะเลือกใช้คำว่า That หรือ Which ดี เนื่องจากทั้งสองคำสามารถใช้กับสิ่งของได้?


Answer: That ไม่สามารถอยู่หลัง comma ได้ในขณะที่ Which ตามหลังเครื่องหมาย comma ได้ ตัวอย่างเช่น


  • The supercar that is parked over there belongs to Tony.

  • The supercar, which is about to pass us, is my father’s.

Question: เราจะเลือกใช้คำว่า Who หรือ That ดี เนื่องจากทั้งสองคำสามารถใช้กับคนได้?

Answer: เราจะใช้คำว่า Who ในกรณีที่เราเขียนแบบเป็นทางการเช่นเขียนเรียงความในข้อสอบ

ส่วนคำว่า that จะใช้ขยายคนและสิ่งของได้ แต่จะเป็นทางการน้อยกว่า ถ้าใช้ในกรณีที่หมายถึงคน


  • The goalkeeper that won all the time quit his team.

  • The goalkeeper who had a perfect life lived in London.

คำแนะนำ: เราต้องวาง Relative clause ไว้ใกล้กับคำนาม เพื่อป้องกันความสับสน


  • The football match that I watched was impressive.

  • The wallet which he left on the sofa is hard to see.

  • Polar bears are local animals in the North Pole where it is extremely cold.

คำแนะนำ: วิธีการใช้ whoever และ whomever จะใช้ตามกฎเดียวกับ who และ whom

9. Distributive Pronoun (สรรพนามแบ่งแยก) Pronoun สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม เพื่อเป็นการแจกแจงหรือหรือแยกแยะสิ่งที่กล่าวออกมาเป็นคนๆ อันๆ ชิ้นๆ ได้แก่ each, either, neither เช่น

  • Has anyone seen my phone?

  • If something happens just call me.

  • One was from Japan, the other was from China.

สรรพนาม nobody, no one, nothing, neither, none มีความหมายเชิงปฏิเสธ

  • There are 2 spare rooms in my house and neither of which has been used for years.

  • She has been waiting for her friends for 30 minutes, but none are here.

  • She looks for inspiration, none ever comes.

singular indefinite pronouns
plural indefinite pronouns
bottom of page