Verb
ถ้าเราดูธรรมชาติของกริยาเราจะแบ่งกริยาออกได้ 3 ประเภทคือ
1. Action Verbs คือกริยากลุ่มที่มองเห็นและรับรู้ถึงการกระทำ เช่น
Walk - เดิน
Run - วิ่ง
Talk - คุย
Sit - นั่ง
Read - อ่าน
Write - เขียน
Jog - วิ่งเหยาะๆ
Cough - ไอ
Sleep - นอน
Jump – กระโดด
Sing - ร้องเพลง
Drink – ดื่ม
Teach – สอน
Present - เสนอ
Build - สร้าง
Break - แตก
Tow - พ่วง
Toss - โยน
Hug - กอด
Fight - ต่อสู้ ทะเลาะ
2. Non-action Verbs (Static Verbs) คือกริยาที่มองไม่เห็นการกระทำ เป็นกริยาที่รับรู้ได้หรือรู้สึกได้ เช่น
Love - รัก
Hate - เกลียด
Envy - อิจฉา
Believe - เชื่อ
Trust - เชื่อมั่น
Feel - รู้สึก
Entrust - มอบความไว้วางใจ
Experience - ประสบการณ์
Care - อาทร
Cherish - หวงแหน
Sense - รู้สึก
Know - รู้จัก
Recognise - จำได้
Understand - เข้าใจ
Comprehend - เข้าใจ
Like - ชอบ
Need - ต้องการ
Adore - รัก
Loathe - เกลียด
Appreciate - ซาบซึ้งใจ
3. Linking Verbs คำกริยาที่ทำหน้าที่เชื่อมประธานของประโยค กับ คำคุณศัพท์ เพื่อบ่งบอกสภาวะของประธานในประโยคนั้นๆ ซึ่งคำที่เรารู้จักกันดีก็คือ Verb to be
am / is / are / was / were / be/ been
have / has - มี
appear - ปรากฏ
seem - ดูเหมือน
become - กลายเป็น
look - ดู
feel - รู้สึก
sound - ฟังดู
taste - รสชาติ
smell - กลิ่น
go – กลายเป็น
turn - กลายเป็น
She is happy. หล่อนมีความสุข
You are smart. คุณฉลาด
He is lazy. เขาขี้เกียจ
Linking Verb ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ได้ทั้ง กริยาแท้ และกริยาเชื่อม
มีอยู่สาม 3 คำ คือ be , become, seem ที่เป็นได้เฉพาะกริยาเชื่อม เพราะบอกได้แค่สภาวะ แต่ไม่สามารถบอกการกระทำได้
ให้จำหลักการง่ายๆว่า ถ้าทำหน้าที่เป็นกริยาแท้จะแสดงการกระทำ ถ้าทำหน้าที่เป็นกริยาเชื่อมจะแสดงสภาวะ
ตัวอย่างคำกริยาที่เป็นได้ทั้งกริยาแท้ และกริยาเชื่อม เช่น
I come home every Sunday. ฉันมาบ้านทุกวันอาทิตย์ --> เป็นกริยาแท้ เพราะ come บอกการกระทำ
My dreams come true. ฝันของฉันกลายเป็นจริง --> เป็นกริยาเชื่อม เพราะ come บอกสภาวะ
I’m feeling the pillow. ฉันกำลังคลำหมอน --> เป็นกริยาแท้ เพราะ feel บอกการกระทำ
I’m feeling cold. ฉันรู้สึกหนาว --> เป็นกริยาเชื่อม เพราะ feel บอกสภาวะ
We grow flowers. พวกเราปลูกต้นไม้ --> เป็นกริยาแท้ เพราะ grow บอกการกระทำ
The flowers grow old. ดอกไม้เริ่มแก่ --> เป็นกริยาเชื่อม เพราะ grow บอกสภาวะ
They smell flowers. พวกเขาดมดอกไม้ --> เป็นกริยาแท้ เพราะ smell บอกการกระทำ
The flowers smell good. ดอกไม้ส่งกลิ่นหอม --> เป็นกริยาเชื่อม เพราะ smell บอกสภาวะ
Linking Verb กับ Verb to be
ความแตกต่างของ Linking verb กับ Verb to be ก็คือว่า
Linking verb = ชั่วคราว Verb to be = ถาวร
ถ้าเราใช้ Verb to be เมื่อไหร่ จะเป็นการบอกนิสัยถาวรของคนๆนั้น แต่ถ้าใช้ linking verb จะบอกว่าพฤติกรรมนั้นๆเกิดชั่วคราว เช่น
She is happy. หล่อนมีความสุข --> นี่คือตัวตนของเธอ เธอมีความสุขทุกเวลา
She looks happy today. หล่อนดูเหมือนจะมีความสุขวันนี้ --> เดือนก่อน สัปดาห์ก่อนหน้ามุ่ย สังสัยได้รับข่าวดีอะไรสักอย่าง
You are smart. คุณฉลาด --> คูณเก่งอยู่แล้วแต่เกิด ที่หนึ่งตลอด ทำอะไรก็คล่องไปหมด
You seem smart. คุณดูฉลาด --> คุณดูฉลาดขึ้นนะ ประชุมทุกทีมีแต่เสนอแนะอะไรไม่เป็นท่า วันนี้หนาทำไมเป็นคนละคน กินยาผิดซองหรือเปล่า
He is lazy. เขาขี้เกียจ --> ไม่เคยทำอะไรเลย งานหนักไม่เอา เบาไม่สู้
He sounds lazy. เขาดูเหมือนจะขี้เกียจ --> ปกติขยันขันแข็ง แต่ทำไมตอนนี้เหมือนจะเริ่มอู้งานแล้ว เกิดอะไรขึ้น
แต่มีบางบริบท บางคำที่ใช้แทนกันได้เลย เช่น
The soup is good.
The soup tastes good. --> ซุปรสชาติดี
She is cold.
She feels cold. -->หล่อนหนาว ใช้แทนกันได้ ถ้าบอกความรู้สึก แต่ She is cold. She never talks to anyone. หล่อนเย็นชา หล่อนไม่เคยพูดกับใครเลย
ในเรื่องของกริยา เราจะต้องดูว่า 1 ประโยคจะต้องมี “กริยาแท้” เพื่อแสดงการกระทำของประธาน และอาจจะมี “กริยาไม่แท้” เพื่อเป็นส่วนขยาย
วิธีสังเกตกริยาแท้
กริยาแท้ต้องมี tense
Tenses
สังเกตกริยาตัวแรก จะเป็นตัวบอกเวลาคือ
Present tenses – V1
Past tenses – V2
Future tenses – will / shall + V1
กริยาตัวที่ตามมาคือตัวบอกเหตุการณ์ คือ
simple = ปกติทั่วไป โดยที่ present simple / past simple มาเดี่ยวๆ
continuous = กำลังทำอยู่ --> Ving
perfect = ทำจากอดีต อย่างสมบูรณ์ --> V3
perfect continuous = ทำมาจากอดีต อย่างต่อเนื่อง --> been + Ving
กริยาแท้ต้องผันตามประธาน – ประธานเอกพจน์กริยาเอกพจน์, ประธานพหูพจน์กริยาพหูพจน์ จุดสังเกตอย่างนึงคือ ประธานเป็นเอกพจน์กริยามี -s ไม่ว่าจะเป็น
is
was
does
has
V1(s)
กริยาแท้ต้องมี voice
active voice - ประธานเป็นผู้กระทำกริยา นี่คือเรื่อง tenses ทั้ง 12 tenses
passive voice – ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ และอยู่ในรูป to be + V3 เสมอ เช่น
present simple (active) = S+V1(s,es)
present simple (passive) = S + is/am/are + V3
เช่น He feeds his dog every day at 3 pm.
>> His dog is fed every day at 3 pm.
past simple (active) = S + V2
past simple (passive) = S + was/were + V3
เช่น I bought a pair of shoes yesterday.
>> A pair of shoes was bought yesterday.
คู่กริยาของกริยาแท้
Verb to do (do / does / did) + V1
Verb ช่วย (can / could / will / would / shall / should / may / might) + V1
Verb to be (is/am/are/was/were/be/been) + Ving ถ้าเป็น active voice คือ continuous tenses
Verb to be (is/am/are/was/were/be/been) + V3 ถ้าเป็น passive voice
Verb to have (have / has / had) + V3 --> perfect tenses